วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Cloud Computing

Cloud Computing คือวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบCloud Computing จากนั้นซอฟต์แวร์จะร้องขอให้ระบบจัดสรรทรัพยากรและบริการให้ตรงกับความต้อง การผู้ใช้ ทั้งนี้ระบบสามารถเพิ่มและลดจำนวนของทรัพยากร รวมถึงเสนอบริการให้พอเหมาะกับความต้องการของผู้ใช้ได้ตลอดเวลา โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องทราบเลยว่าการทำงานหรือเหตุการณ์เบื้องหลังเป็น เช่นไร
ผมได้นิยามคำว่า Cloud Computing ในรูปแบบที่ (น่าจะ) เข้าใจง่ายขึ้นที่ นิยามคำว่า Cloud Computing ภาค 2 สำหรับท่านที่กำลังค้นหาหัวข้อวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ Cloud Computing สามารถไปอ่านบทความของผมได้ในหัวข้อชื่อ หมวดงานวิจัยเกี่ยวกับ Cloud Computing
รายละเอียดของนิยามมีอีกครับ เข้ามาติดตามได้เลย

ผมขอนิยามความหมายของคำหลักๆ 3 คำที่เกี่ยวข้องกับ Cloud Computing ต่อไปนี้
ความต้องการ (Requirement) คือโจทย์ปัญหาที่ผู้ใช้ต้องการให้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ไขปัญหาหรือตอบปัญหาตาม ที่ผู้ใช้กำหนดได้ ยกตัวอย่างเช่น ความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาด 1,000,000 GB, ความต้องการประมวลผลโปรแกรมแบบขนานเพื่อค้นหายารักษาโรคไข้หวัดนกให้ได้สูตร ยาภายใน 90 วัน, ความต้องการโปรแกรมและพลังการประมวลผลสำหรับสร้างภาพยนต์แอนนิเมชันความยาว 2 ชั่วโมงให้แล้วเสร็จภายใน 4 เดือน, และความต้องการค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวและโปรแกรมทัวร์ในประเทศอิตาลีในราคา ที่ถูกที่สุดในโลกแต่ปลอดภัยในการเดินทางด้วย เป็นต้น
ทรัพยากร (Resource) หมายถึง ปัจจัยหรือสรรพสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหรือเกี่ยวข้องกับการแก้ไข ปัญหาตามโจทย์ที่ความต้องการของผู้ใช้ได้ระบุไว้ อาทิเช่น CPU, Memory (เช่น RAM), Storage (เช่น harddisk), Database, Information, Data, Network, Application Software, Remote Sensor เป็นต้น
บริการ (Service) ถือว่าเป็นทรัพยากร และในทางกลับกันก็สามารถบอกได้ว่าทรัพยากรก็คือบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านCloud Computingแล้ว เราจะใช้คำว่าบริการแทนคำว่าทรัพยากร คำว่าบริการหมายถึงการกระทำ (operation) เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่สนองต่อความต้องการ (requirement) แต่การกระทำของบริการจะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากร โดยการใช้ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาให้เกิดผลลัพธ์สนองต่อความต้อง การ

สำหรับCloud Computingแล้ว ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจเลยว่าระบบเบื้องล่างทำงานอย่างไร ประกอบไปด้วยทรัพยากร(resource) อะไรบ้าง ผู้ใช้แค่ระบุความต้องการ(requirement) จากนั้นบริการ(service)ก็เพียงให้ผลลัพธ์แก่ผู้ใช้ ส่วนบริการจะไปจัดการกับทรัพยากรอย่างไรนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องสนใจ สรุปได้ว่า ผู้ใช้มองเห็นเพียงบริการซึ่งทำหน้าที่เสมือนซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามโจทย์ของ ผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับทราบถึงทรัพยากรที่แท้จริงว่ามีอะไรบ้างและถูก จัดการเช่นไร หรือไม่จำเป็นต้องทราบว่าทรัพยากรเหล่านั้นอยู่ที่ไหน

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการทำงานของอุปกรณ์ DLNA

    รูปแบบการทำงานของอุปกรณ์ DLNA
  อุปกรณ์ DLNA ใช้โปรโตคอล Universal Plug and Play (UPnP)  ที่สนับสนุนฟังก์ชันการทำงานแบบพลักแอนด์เพลย์เพียร์ทูเพียร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่าย ข้อมูลจำเพาะเกี่ยวกับ UPnP การออกแบบมาเพื่อให้อุปกรณ์ และติดตั้งบริการของเครือข่าย และการจัดการ UPnP ทำการค้นพบอุปกรณ์และบริการและการควบคุมผ่านทางกลไก driverless มาตรฐานโดยใช้โพรโทคอล อุปกรณ์ universal Plug and Play สามารถกำหนดค่าเครือข่ายที่กำหนด ประกาศสถานะการออนไลน์ของตนบนเครือข่ายย่อยของเครือข่าย และโดยอัตโนมัติโดยการอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนของคำอธิบายของอุปกรณ์และบริการ คอมพิวเตอร์สามารถทำหน้าที่เป็นจุดควบคุม UPnP เพื่อค้นหา และอุปกรณ์ผ่านทางอินเทอร์เฟซแบบเว็บหรือโปรแกรมควบคุม  ซึ่งใช้ในการจัดการ media (Media Management), การค้นพบ (Discovery) และการควบคุม (Control) ซึ่งจะช่วยกำหนดประเภทของอุปกรณ์ที่สนับสนุน DLNA ("Server", "Renderer", "Controller") และกลไกสำหรับการเข้าถึงสื่อผ่านเครือข่าย1.หมวดอุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้าน (Home Network Device: HND) 
ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้ในเครือข่ายภายในบ้านโดยพึ่งพารูปแบบสื่อเดียวกันและความต้องการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        1.1 Digital Media Servers (DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้
                                1.2 Digital media players (DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย DMS เพื่อทำการเล่นและการแสดงผล เช่น ทีวีดิจิตอล
                                1.3 Digital media renders (DMR) ทำตัวเป็นนักแสดงที่ดี DMS โยนอะไรไปให้หรือ DMC ดึงอะไรจาก DMS มาให้ ก็จะแสดงไปตามนั้น 
                                (โหมดที่    ตัวเองกลายเป็นผู้แสดงผลภาพ,เสียงหรือวีดีโอจากเครื่องอื่น)
1.4 Digital media controllers (DMC) ทำตัวเองเป็น นายคน ดึงไฟล์จากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
1.5 Digital Media Printer (DMPr) ให้บริการการพิมพ์ผ่านเครือข่าย DLNA ภายในบ้าน เช่น เครื่องพิมพ์ภาพระบบเครือข่าย 
   (Networked Photo Printer)
               
2.หมวดอุปกรณ์มือถือแบบพกพา (The Mobile Handheld Device: MHD) ถูกจัดเป็นห้าคลาสที่ใช้รูปแบบเดียวกัน HND Device แต่มีความต้องการที่แตกต่างกันสำหรับรูปแบบสื่อและการเชื่อมต่อเครือข่าย
                        2.1 Mobile Digital Media Server (M-DMS) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้อุปกรณ์เครือข่ายภายในบ้านสามารถดึงไฟล์ไปใช้ได้ อุปกรณ์ M-DMS     แตกต่างจากอุปกรณ์ DMS ในการที่พวกมันสนับสนุนรูปแบบที่เหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ มาร์ทโฟนและเครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
                        2.2 Mobile Digital Media Player (M-DMP) ค้นหาเนื้อหาที่นำเสนอโดย M-DMS และให้ความสามารถในการเล่นและการแสดงผลเป็นสื่อที่ออกแบบมาสำหรับการดูเนื้อหาแบบมัลติมีเดียเหมาะสำหรับอุปกรณ์มือถือ แท็บเล็ต ฯลฯ
                        2.3 Mobile Digital Media Controller (M-DMC) มีความสามารถในการดึงเนื้อหาสื่อจากเครื่องหนึ่ง แล้วไปแสดงผลอีกเครื่องหนึ่ง
                        2.4 Mobile Digital Media Uploader (M-DMU) ทำหน้าที่ในการอัพโหลดเนื้อหาไปยัง M-DMS ตัวอย่างของ อุปกรณ์ M-DMU เช่น กล้องดิจิตอลและกล้องโทรศัพท์
                        2.5 Mobile Digital Media Downloader (M-DMD) ค้นหาและดาวน์โหลดเนื้อหาที่ M-DMS และเล่นเนื้อหาภายใน M-DMD หลังจากดาวน์โหลดตัวอย่างของอุปกรณ์ M-DMD เครื่องเล่นเพลงแบบพกพา
        3. หมวด Home Infrastructure Device (HID) หมวดนี้ถูกจัดเป็น 2 คลาส อุปกรณ์เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ HNDs และการทำงานร่วม MHDs
                        3.1 Media Interoperability Unit (MIU) เป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนแปลงเนื้อหาระหว่างรูปแบบสื่อที่จำเป็นสำหรับหมวด HND Device และหมวด MHD Device
                        3.2 Mobile Network Connectivity Function (M-NCF) เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมระหว่างเชื่อมต่อเครือข่าย MHD และการเชื่อมต่อเครือข่าย HND

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (อังกฤษinformation and communication[s] technologyไอซีที) เป็นศัพท์ที่มักใช้ในความหมายคล้ายกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) แต่ขยายขอบเขตเพิ่มขึ้นโดยเน้นเรื่องบทบาทของการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (ยูซี) [1] กับบูรณาการของสิ่งต่อไปนี้ได้แก่ โทรคมนาคม (ทั้งสายโทรศัพท์และสัญญาณไร้สาย) คอมพิวเตอร์ตลอดจนถึงซอฟต์แวร์วิสาหกิจ มิดเดิลแวร์ หน่วยเก็บข้อมูล และระบบโสตทัศน์ต่าง ๆ ซึ่งทั้งหมดช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึง เก็บบันทึก ส่งผ่าน และจัดดำเนินการสารสนเทศได้ [2]
นักวิจัยทางวิชาการเริ่มใช้ศัพท์ ไอซีที ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา [3] แต่มันเป็นที่นิยมหลังจากเดนนิส สตีเฟนสันใช้ศัพท์นี้ในรายงานเพื่อแถลงต่อรัฐบาลสหราชอาณาจักร เมื่อ ค.ศ. 1997 [4] และปรากฏในหลักสูตรแห่งชาติฉบับปรับปรุงของอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือเมื่อ ค.ศ. 2000
นอกจากนี้ศัพท์ ไอซีที ในปัจจุบันนี้ก็ยังหมายถึงการลู่เข้าของเครือข่ายโทรศัพท์และระบบโสตทัศน์ เข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ผ่านทางเคเบิลสายเดียวหรือระบบเชื่อมต่อหนึ่งเดียว มีสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เพื่อที่จะผสานระบบโสตทัศน์ การจัดการสิ่งปลูกสร้าง และเครือข่ายโทรศัพท์ เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบเคเบิล การจัดการและการกระจายสัญญาณ แบบรวมศูนย์เพียงหนึ่งเดียว ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างยิ่งเนื่องจากเครือข่ายโทรศัพท์จะถูกขจัดออกไป

วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

 
เมื่อเราเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ต คงจะเคยเห็นตัวเลขแปลกๆ เช่น 127.0.0.1 หรือ 192.168.1.1 หรือจำนวนอื่นๆ ตัวเลขเหล่านี้คืออะไรกัน
ตัวเลขเหล่านี้คือหมายเลข IP ประจำเครื่องครับ โดย IP ก็ย่อมาจากคำว่า Internet Protocol หน้าที่ของเจ้าเลขพวกนี้ก็คือ เป็นหลายเลขที่ใช้ในระบบเครือข่าย เป็นหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ในกรณีที่เราเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องก็จะมีเลขหมายหรือเบอร์โทรศัพท์เพื่อบอกว่าถ้าจะติดต่อเครื่องนี้ให้โทรมาที่เบอร์นี้นะ เช่นเดียวกันครับ คอมพิวเตอร์ก็มีเลขหมายหรือพูดง่ายก็คือชื่อมันนั่นเอง เพือให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆ บนระบบเครือข่ายรู้จักกัน
จากหมายเลข IP ที่ยกตัวอย่างไปด้านบน เราเรียกว่า IPv4 ครับ โดยจะเป็นหมายเลขที่มีทั้งหมด 32 บิต (แต่ละช่วงเว้นวรรคด้วย . ) แบ่งเป็นช่วงละ 8 บิต โดยตัวเลข 8 นี้ก็จะมีค่าตั้งแต่ 0 – 255 ครับ ดังนั้น IPv4 จึงมีหมายเลขได้ตั่งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255 แต่ก็ใช่ว่าทุกตัวจะใช้ได้หมดนะครับ เพราะจะมีบางหมายเลขที่ถูกเก็บไว้ใช้งานเฉพาะ
IPv4 ทั้งหมดถูกแบ่งออกเป็น Class ชนิดต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ในการใช้งานที่ต่างกันไป ดังนี้ครับ
  1. คลาส A เริ่มตั้งแต่ 1.0.0.1 ถึง 127.255.255.254
  2. คลาส B เริ่มตั้งแต่ 128.0.0.1 ถึง 191.255.255.254
  3. คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.0.1.1 ถึง 223.255.254.254
  4. คลาส D เริ่มตั้งแต่ 224.0.0.0 ถึง 239.255.255.255 ใช้สำหรับงาน multicast
  5. คลาส E เริ่มตั้งแต่ 240.0.0.0 ถึง 255.255.255.254 ถูกสำรองไว้ ยังไม่มีการใช้งาน
สำหรับไอพีในช่วง 127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255 ใช้สำหรับการทดสอบระบบ
แต่หมายเลข IP ด้านบนนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทคือ IP ส่วนตัว (Private IP) และ IP สาธารณะ (Publish IP)
โดย IP ส่วนตัวมีไว้สำหรับใช้งานภายในองค์กรเท่านั้น ได้แก่
  1. ไอพีส่วนตัว คลาส A เริ่มตั้งแต่ 10.0.0.0 ถึง 10.255.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.0.0.0 ขึ้นไป
  2. ไอพีส่วนตัว คลาส B เริ่มตั้งแต่ 172.16.0.0 ถึง 172.31.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.240.0.0 ขึ้นไป
  3. ไอพีส่วนตัว คลาส C เริ่มตั้งแต่ 192.168.0.0 ถึง 192.168.255.255 สับเน็ตมาสต์ที่ใช้ได้ เริ่มตั้งแต่ 255.255.0.0 ขึ้นไป
ไอพีส่วนตัวข้างต้นถูกกำหนดให้ไม่สามารถนำไปใช้งานในเครือข่ายสาธารณะ (Internet)
ส่วน IP สาธารณะมีไว้สำหรับให้แต่ละองค์กร หรือแต่ละบุคคลใช้ในการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายเข้าหากัน
จากช่วงของ IPv4 ตั้งแต่ 1.1.1.1 ถึง 255.255.255.255 ถ้าคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องใช้หนึ่งหมายเลข เช่น เครื่องผมใช้ 1.1.1.1 เครื่องที่สองใช้ 1.1.1.2 เราก็จะประมาณได้ว่าเราจะมีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงอยู่ในระบบเครือข่ายได้ทั้งหมดประมาณ 232 เครื่องครับ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เยอะมาก แต่ก็ยังเยอะไม่พอ เพราะว่า IPv4 ที่แจกจ่ายให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกได้กำลังจะหมดลงไปแล้ว
แล้วเราจะทำอย่างไรดี ถ้าเราซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์มาแล้วไม่มี IP ให้เราใช้ล่ะ วิธีการที่นักคอมพิวเตอร์แก้ไขก็คือการกำหนดหมายเลข IP ใหม่ขึ้นมาครับ โดย IP ใหม่นี้ถูกเรียกว่า IPv6 (Internet Protocol version 6) ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน IP โดย IPv6 นี้ใช้ระบบเลข 128 บิต ดังนั้นจึงมีจำนวน IP ได้มากสุดถึง 2128 หมายเลขครับ เยอะมากที่จะพอให้มนุษย์บนโลกนี้ใช้ได้ไปอีกนานเลยทีเดียว